Skip to main content

เดือนแปดสองหน ??

เดือนแปดสองหน คืออะไร ใครรู้บ้าง
อยากกระจ่าง ช่วยที ตอบฉันหน่อย ....


ปีนี้ 2561 เป็นปีที่มีเดือน 8 2 หน แล้วยังไง กระทบอะไรกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายกัน

เริ่มต้นจาก เดือนแปดสองหน นับจากอะไร
 เราจะนับเดือนแปด จากปฏิทินจันทรคติ แปลว่า ปีนี้มีเดือนแปดตามปฏิทินจันทรคติสองครั้ง

แล้วทำไมต้องมี 2 ครั้ง
 อธิบายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์คือ ปฏิทินจันทรคติ ตามที่เรารู้ๆกันคือจะมีข้างขึ้น กับข้างแรม สลับกันไป ขึ้น 14-15 ค่ำ แรม 14-15 ค่ำ แล้วแต่เดือน พอเอามารวมกัน 12 เดือน จะได้ทั้งหมด ประมาณ 354 วัน เห็นอะไรแปลกๆไหม ปกติ ปีนึง มีวันทั้งหมดตาม สุริยคติ หรือปฏิทินที่เราใช้กันอยู่คือ ประมาณ 364 - 365 วัน จะเห็นได้ว่า ปฏิทินทั้งสอง ต่างกันอยู่ปีละประมาณ 11-12 วัน ทำให้ถ้านับไปเรื่อยๆโดยไม่ทำอะไร จะทำให้เดือนตามปฏิทินจันทรคติ ไม่สามารถบอกฤดูกาลได้ เหตุผลเดียวกับทำไมเราต้องเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ในทุกๆ 4 ปี

แล้วใครใช้ปฏิทินจันทรคติกันล่ะ
 ถ้าใกล้ตัวเราที่สุดคือ ใช้ในการดูฤกษ์ ดูยาม ในทางโหราศาสตร์ หรือใช้ในการดูวันสำคัญของศาสนาพุทธ เหมือนที่เราเคยท่องตอนเด็กๆ มา-สาม วิ-หก อา-แปด
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาหบูชา
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา
แรม 1 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง 

แล้วทำไมต้องเพิ่มในเดือน 8
  ต้องเริ่มอย่างนี้ เริ่มจากศาสนาพุทธ จะใช้ปฏิทินจันทรคติ ในการบอกวันสำคัญ และในวันเข้าพรรษาจะเป็นวันที่กำหนดว่าพระสงฆ์ต้องอยู่ที่พำนัก ห้ามออกไปไหนเป็นเวลา 3 เดือน และเพื่อให้การบอกวัน เวลาเป็นไปตามฤดูกาล เดือนที่เพิ่มมาเลยเป็นเดือน 8 และจะใช้เดือน 8 หนหลังในการกำหนดว่าเป็นวันเข้าพรรษา

แล้วกระทบอะไรกับชีวิตเรา
 หากมีเดือนแปดสองหน เมืองไทยจะเลื่อนวันหยุดของวันวิสาขบูชา จากเดือนหก เป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ในขณะที่พม่า ซึ่งเป็นประเทศพุทธเหมือนกัน จะยึดตามวันเดิมคือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ทำให้สองประเทศ มีวันหยุดไม่ตรงกัน

แค่นั้น? กระทบอะไรอีกไหมอ่ะ? 
 ก็จะกระทบในทางโหราศาสตร์บ้าง แต่ไม่ขอลงลึกแล้วกัน

สรุป เดือนแปดสองหน เกิดมาจากปฏิทินจันทรุคติ ที่ต้องมีการชดเชยวันเพื่อให้ทุกๆปีข้างขึ้น ข้างแรมของเดือนต่างๆ ตรงตามฤดูกาลนั่นเอง 

อ่านจบแล้ว จากที่ไม่รู้ ก็จะได้รู้ เย่ สวัสดี

Comments

Popular posts from this blog

Use your feeling to feel in the blank

Use your feeling to feel in the blank Vodafone ads, 2013 ควันหลงจากเทศกาลแห่งความรัก Valentine's day มีใครบอกรักผ่านช่องทางไหนบ้างเอ่ย ขอให้ทุกคนสมหวังกับความรักนะครับ  Credit: Ads of the World

Teatime

เพื่อความฟินในการจิบชา ก็ต้องมาอ่านประวัติของส่วนประกอบของสิ่งต่างๆก่อน ชาในภาษาพม่า เรียกว่า หล่ะเพ็ด โดยไม่ต้องเน้นออกเสียงเพ็ดเต็มๆ ต้องปล่อยลมผ่านไปหน่อย แล้วก็ ดอเด็กตาม ละเพ็ด ละเพ็ด ส่วนน้ำเรียกว่า เหย่ ใช่แล้ว คล้ายๆ เย่เวลาดีใจแต่เสียงต่ำลงนิดนึง เหย่ น้ำร้อน ก็จะบอกว่า เหย่นุย (นุยคือร้อน แต่ไม่ใช่อากาศร้อน จะเป็นการร้อนของของกิน) เพราะฉะนั้น น้ำชาร้อน คือ ละเพ็ดเหย่นุย แต่ถ้าไปที่ร้านน้ำชา จะเรียก เหย่นุย เฉยๆก็ได้ กลับมาเข้าเรื่องต่อ ประวัติของสิ่งต่างๆคือ กาน้ำชา .... จากเมืองจีน ไปหาซื้อที่ห้างขายส่งแถวบ้าน จบไป ไม่มีอะไรเล่า แก้วชา... เป็นขี้เถ้า ที่มาจากภูเขาไฟฟูจิ หรือถ้าออกเสียงแบบนิฮอนโกะก็คือ ฮูจิยามะ เอามาปั้นๆแล้วก็เผาจนได้แก้วชาใบนี้ขึ้นมา ลายก็เพ้นท์มือ ทำให้มีใบเดียวในโลก ใบชา .... ตากแห้งมาจากเมืองเมเมียว หรือภาษาพม่าเรียกว่า พิน อู ลวิน เป็นเมืองพักตากอากาศตั้งแต่สมัยอังกฤษปกครอง ขอบอกว่า บ้านหลังนึงบนนั้น ราคาซื้อขายล่าสุดเป็นร้อยล้านบาท ที่รองกาน้ำชา .... เป็นหยกแท้ๆ ที่มาจากเหมืองในประเทศพม่า จริงๆขอเรียกว่ามาจากชนกลุ่มน้อยในพม่าดีกว่า เ...